อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
  • ปรับขนาด
    ตัวอักษร
สินค้า OTOP
ขนมไทย “เม็ดขนุน”
ยังไม่มีผู้ให้คะแนน

ขนมไทย “เม็ดขนุน”

หมวด : อาหาร

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

การทำขนมไทย (เม็ดขนุน ) ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากขนมไทย(เม็ดขนุน ) ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงปัจจุบันสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในงานพิธี งานมงคลต่างๆ ก็จะมี การจัดอาหารคาว อาหารหวานเลี้ยงพระ เลี้ยงแขกในงานมงคลสมรส งานอุปสมบท งานทำบุญขึ้น บ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด การทำขนมไทย (เม็ดขนุน ) เป็นขนมหวานไทย ชนิดหนึ่งที่ถูกสืบทอด วิธีการทำกันมาตั้งแต่คนรุ่นก่อนๆ จะทำขนมหวานไทยในพิธีชาวบ้าน ลูกหลาน ก็จะเห็นคนรุ่นแม่  รุ่นย่า รุ่นยายเป็นผู้ทำ (เม็ดขนุน) พอมารุ่นหลังๆ ผู้ที่ทำขนมไทย (เม็ดขนุน) จะลดน้อยลงเหลืออยู่ น้อยมาก นานต่อไปก็จะสูญหายไปหมดเพราะคนที่ทำขนมไทย (เม็ดขนุน ) ก็จะล้มหายตายจาก ทัพไปหมด ดังนั้นชาวตำบลไทรน้อย จึงได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังอนุรักษ์สืบทอดการทำขนมไทย ได้มาร่วมกลุ่มกันเพื่อทำขนมไทย เป็นการอนุรักษ์และเป็นการถ่ายทอดขนมไทยทุกชนิดไว้ เช่น ฝอยทอง ทองหยอด ทองหยิบ เม็ดขนุน ลูกจันทร์ ขนมหม้อแกง วุ้นกะทิ สังขยา ขนมสาลี  ขนมมะพร้าวแก้วฯลฯ เพื่อการรักษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนไทยไว้ ให้คนรุ่นหลังได้เห็นได้รู้จักและ ยังมีขนมไทยไว้ประกอบในพิธีงานมงคลต่างๆ จนโอกาสนี้จะขอกล่าวถึงขนมเม็ดขนุน เพราะเม็ดขนุน มีความหมายที่ดีในพิธีการต่างๆ จะทำให้ชีวิตมีความมั่นคงเกื้อขนุน จุลเจือ เจริญรุ่งเรืองมีบุญหนุนนำ จะให้ชีวิตประสบความสำเร็จ ร่ำรวย ชื่อก็เป็นมงคล รสชาติก็หอมมันอร่อยน่ารับประทาน และเป็นที่ ชื่นชอบของคนทุกเพศทุกวัย

 

ความสัมพันธ์กับชุมชน

 

     

 

ขนมไทยทุกชนิด ร่วมถึงเม็ดขนุนเป็นความสัมพันธ์อันดีงามที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ สืบสอดกันมาเป็นระยะๆ กันมาโดยตลอด เป็นความผูกพัน ระหว่างคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกัน เพื่อการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ตั้งแต่ก่อนด้วย กระทะ ใช้พายกวน จนพัฒนา มาเป็นเครื่องกวนไฟฟ้า ทุกคนจะต้องช่วยปั้นเม็ดขนุนให้สวยเกิดการสร้างความร่วมแรงร่วมใจกัน เป็นอย่างดียิ่ง

 

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

 

1. ถั่วเขียวซีกกะเทาะเปือก

2. เนื้อมะพร้าวทึมทึก

3. น้ำตาลทราย

4. ไข่เป็ด

5. น้ำมะพร้าว

 

ขั้นตอนการผลิต

 

 

-  นำถั่วเขียวซีกกะเทาะเปลือกแล้วซาวน้ำทั้ง ๒-๓ ครั้ง นำมาตั้งเตาต้มให้สุดและ

-  นำมะพร้าวทึมทึกที่ขูดแล้วใส่กระทะกวนใส่น้ำตาลทราย ใส่น้ำมะพร้าว ใส่ถั่วเขียวที่ ต้มแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน 

-  ตั้งกระทะกวนไปเรื่อยๆ จนเหนี่ยวแห้งพอเหมาะโดยการหยิบมาปั้นเป็นเม็ดดูว่าใช้ได้ ตักออกใส่หม้อไว้ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น 

-  เมื่อถั่วเย็นนำมาปั้นให้เป็นลักษณะเม็ดขนุนเรียงใส่ถาดผึ่งไว้ให้เม็ดขนุนแห้งหมาดๆ

-  ตอกไข่เป็ดใส่กะละมังใช้มือปลิ้นเอาไข่ขาวออกเอาเฉพาะไข่แดง ลงใส่หม้อมีผ้าขาวบางกรองให้ไข่แดงไม่มีไข่ขาวปนติดอยู่ เพื่อให้ผิวเม็ดขนุนเนียนละเอียดสวยงาม

-  นำไข่แดงที่ได้แบ่งใส่ภาชนะนำเม็ดขนุนที่ปั้นจนแห้งหมาดใส่ลงในภาชนะที่ใส่ไข่แดง ดับไฟให้น้ำเชื่อมนิ่งจึงชุมเม็ดขนุนใส่ลงในกระทะทองจนเต็ม 

-  เร่งไฟให้แรงจนเดื่อดพล่าน นำน้ำเย็นใส่ลงไปนอประมาณ (เพื่อให้ผิวไข่แดงรอบเม็ดเป็น เงางาม ) ปล่อยให้เดือดอีกครั้ง ปิดไฟแล้วใช้ตะแกรงตักออก ลงแช่ในน้ำลอย(น้ำเชื่อมหวานอ่อนๆ) เพื่อให้ความหวานลดลง แช่ไว้สักครู่จึงตักออก ใส่ถาดผึ่งให้เย็น

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

 

 

-  มะพร้าวที่ใช้กวนเป็นมะพร้าวทึมทึกจะทำให้เหนียวหนึกอร่อย

-  น้ำมะพร้าวใส่ไปด้วยเวลากวนจะทำให้เม็ดขนุนมีความหอมยิ่งขึ้น

-  มะพร้าวที่ใช้กวนถ้าเป็นมะพร้าวน้ำหอมจะยิ่งเหนียวนุ่ม หอม อร่อยมากยิ่งขึ้น

 

กลุ่มผลิต วิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มเทพนาคา

ที่อยู่  46 ม.6 ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13250

เบอร์โทรศัพท์   081-9465457, 081-8514067

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

1. จำหน่ายที่กลุ่มน้ำดื่มเทพนาคา

2. จำหน่ายตลาดนัดหน้าอำเภอบางบาล

3. จำหน่ายที่ตลาดเจ้าพรหม

4. จำหน่ายในงานที่ส่วนราชการจัดขึ้น ฯลฯ

แสดงความคิดเห็น