วงกลองยาว
ประวัติความเป็นมา
นายโหย เมฆพันธ์ (โย๋) ครูภูมิปัญญาด้านการตีกลองยาวแห่งชุมชนบ้านทำเลไทย หมู่ที่ 1 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน ซึ่งในอดีตชุมชนต่าง ๆ ในท้องที่อำเภอบางปะอิน ยังไม่มีวงกลองยาว ด้วยเป็นคนหนึ่งที่ชอบความสนุกสนานรื่นเริง ชอบในเสียงก ลองยาว จึงได้ฝึกเรียนกลองยาวมาจากชุมชนต่างอำเภอ ด้วยความชอบเป็นพิเศษจึงตามไปดูการแสดงกลองยาวตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในอำเภออื่น และกลับมาฝึกจนเกิดความชำนาญและได้เข้าร่วม วงกลองยาวที่หมู่บ้านในอำเภอผักไห่ จนมีผู้มาติดต่อไปตีกลองยาวตามวงอื่น ๆ โดยได้รับค่าตอบแทนบ้าง หรือขอให้ไปช่วยบ้าง จึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้นประกอบกับที่ชุมชนบ้านทำเลไทย ตำบลขนอนหลวง และชุมชนใกล้เคียงในอำเภอบางปะอินยังไม่มีวงกลองยาว จึงมีความคิดริเริ่มอยากก่อตั้งวงกลองยาวในชุมชนขึ้น นายโหย เมฆพันธ์ และนางมะลิ เมฆพันธ์(ภรรยา) จึงช่วยกันร่วมชักชวนญาติพี่น้อง ลูกหลาน และเพื่อนๆ ในชุมชน มาลองฝึกตีกลองยาวกันโดยเริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ จากประสบการณ์ที่ตนเองเคยไปตีกลองยาว และช่วยเป็นลูกมือในการทำกลองยาวของคณะอื่นที่ไปร่วมวง ลองทำกลองยาวขึ้นมาเองและหาซื้อกลองยาวมาเพิ่มร่วมถึงซื้ออุปกรณ์ประกอบจังหวะ ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง เมื่อมีอุปกรณ์พอที่จะตีเป็นวงได้แล้วก็นัดรวมกลุ่มกันได้ประมาณ 12 คน ใช้เวลาช่วงว่างจากการทำนา เริ่มถ่ายทอดความรู้พื้นฐานการตีกลองยาว การเทียบเสียง และลองมาบรรเลงรวมวงกันฝึกจนเกิดความชำนาญจนสามารถก่อตั้งวงกลองยาวขึ้นมาได้ โดยเริ่มออกงานตีกลองยาวของชุมชนในงานรื่นเริงต่าง ๆ ขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า ทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น และเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีผู้มาขอฝึกและเข้าร่วมวงเพิ่มขึ้น จนเริ่มมีผู้มาติดต่อว่าจ้างทั้งในชุมชน และต่างชุมชนให้ไป ตีกลองยาวในงานมงคลต่าง ๆ จนเริ่มมีชื่อเสียง ขณะนั้นมีผู้ที่รู้จักชอบพอกันได้นำผ้าห่มองค์หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง ที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาให้หลายผืน นายโหย เมฆพันธ์ (ลุงโย๋) จึงนำผ้าหลวงพ่อโตที่ได้มาตัดเป็นเสื้อประจำวงกลองยาวเพราะคิดว่าเป็นผ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นศิริมงคล จากนั้นก็มีผู้มาติดต่อว่าจ้างมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงคิดว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ของผ้าห่มองค์หลวงพ่อโต เพื่อให้เป็นศิริมงคลกับวงกลองยาว จึงได้ตั้งชื่อคณะกลองยาวว่า “ศิษย์หลวงพ่อโต” ดังนั้น จึงเริ่มก่อตั้งวงกลองยาวอย่างเป็นทางการแบบเต็มวงขึ้นใน พ.ศ. 2520 และได้ใช้ชื่อดังกล่าว เข้าประกวดแข่งขันกลองยาว จนได้รับรางวัลต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 35 ปีแล้ว และร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ลูกหลาน เยาวชนเด็กรุ่นใหม่ ๆ สืบทอดภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวงกลองยาวมาและอนุรักษ์สืบทอด และปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
2. เอกลักษณ์ในการแต่งตัว จะแต่งตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนกับคณะอื่น โดยให้ผู้ แสดงหรือผู้ตีกลองยาวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศรีษะโพกผ้าสีชมพู ตีกลองมีทำนองเป็นเพลงพม่า เรียกกันมาแต่เดิมว่า เพลงพม่ากลองยาว (แต่งตัวตามที่มาของพม่า ปัจจุบันมีการประยุกต์การแต่งตัวไปตามสมัยความเหมาะสมกับงาน)
3. มีการบรรเลงกลองยาว มีรูปแบบการบรรเลงในแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของวงกลองยาว “ศิษย์หลวงพ่อโต” หรือ ลุงโหย (โย๋) วงกลองยาวโดยทั่วไปจะประยุกต์รูปแบบทำนองดนตรีลูกทุ่ง (การแสดงนั้นจะมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามยุกต์สมัย แต่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมไว้อยู่ด้วย)
4. มีการตีกลองแบบโลดโผน เพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศรีษะ ในการตีกลอง และการคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดกลองยาว ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประจำปี 2537 ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2537
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดกลองยาว ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ งานลอยกระทงตามประทีป ประจำปี 2539 ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร วันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ถ้วยรางวัลที่ได้รับในการประกวดกลองยาวที่ได้รับพระราชทานการประกวดกลองยาวปี 2539
3. รางวัลชมเชย ในการประกวดกลองยาวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ คุ้มขุนแผน ประจำปี 2542
4. รางวัลชมเชย ในการประกวดกลองยาว งานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลกและงานกาชาด ประจำปี 2543
5. ได้รับเกียรติบัตรให้แก่เครือข่ายทางด้านวัฒนธรรม และผู้ผ่านโครงการฝึกอบรมเครือข่ายวัฒนธรรมเพื่อสิทธิเสรีภาพ ประจำปี 2547 ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 31 ตุลาคม 2547 . ได้รับเกียรติบัตร จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องเป็นภูมิปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาขาด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เชี่ยวชาญเรื่อง การตีกลองยาวประกอบท่ารำ วันที่ 12 เมษายน 2553 7. เข้าร่วมการแข่งขันกลองยาวพื้นบ้าน จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพ ประจำปี 2554
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ร่วมกับชาวบ้านในชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป ได้อุทิศเวลาถ่ายทอดความรู้ทางกลองยาวให้กับเด็กและเยาวชนในชุมน และ เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดทำเลไทยโปรดสัตว์ เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ ใช้เวลาว่างไห้เกิดประโยชน์ และร่วมสืบทอดภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป ปัจจุบันนายโหย เมฆพันธ์ (โย๋) รวบรวมผู้มีความรักชอบด้านกลองยาวใน ชุมชน และชุมชนใกล้เคียงมีวงกลองยาว และถ่ายทอดความรู้ด้านกลองยาวให้กับ ลูกหลานในชุมชน ปลูกฝังให้เห็นคุณค่าทางด้านดนตรี ได้ฝึกสมาธิ ปลูกฝังความเป็น ระเบียบวินัย และความสามัคคี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน เด็ก เยาวชนในหมู่บ้าน ในการรับงานแสดง ต่าง ๆ ในตำบลขนอนหลวง อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และต่างจังหวัด ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ไม้จริงใช้ทำตัวกลอง เช่น ไม้ขนุน ไม้ก้ามปู ไม้มะม่วงฯลฯ ตอนหน้าใหญ่ตอนท้าย ลักษณะเรียวแล้วบานตอนปลาย เป็น รูปดอกลำโพง มีหลายขนาด
2. ข้าวสุก ใช้ติดตรงกลางของหน้ากลอง โดยบดผสมขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง (ปัจจุบันใช้ขนม โก๋มาบดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำทำให้เหนียวปั้นเป็นก้อนติดหน้ากลองแทนก็ได้)
3. ผ้าสีต่าง ๆ แล้วแต่จะเลือกสี นำมาตัดใช้หุ้มตกแต่งกลองให้สวยงาม หรือเรียกว่ากระโปร่งกลอง
4. หนังสัตว์ ใช้ทำหนังกลอง เช่น หนังวัว หนังแพะ
5. สายสะพาย ใช้ผูกกลองไว้คล้องสะพายบ่า
ก่อนเล่นมีการบูชาไหว้ครูโดยจุดธูปเทียนดอกไม้ สุรา และเงิน 12 บาท การเล่น ใช้คนเล่นทั้งหมด 18 คน (หรือมากกว่านั้นก็ได้)
1. คนตีกลอง 9 คน
2. คนรำ 6 คน (หรือแล้วแต่จำนวนคน)
3. คนตีฆ้อง , โหม่ง , ฉาบ 3 คน (หรือมากกว่าก็ได้แล้วแต่อุปกรณ์)
4. นั่งล้อมวงติดถ่วงเทียบเสียงกลอง (ถ่วงด้วยขนมโก๋ หรือข้าวสุก ตำกับขี้เถ้าให้ละเอียดหรือเหนียว) เริ่มเล่นโหม่งตีจังหวะให้สัญญาณขึ้นเพลง เพลงที่จะเล่นมีประมาณ 5 เพลง 1. เพลงม้าย่อง 2. เพลงหรั่งย่ำเท้า 3. เพลงแขก 4. เพลงเซิ้งกระติ๊บ
5. เพลงเซิ๊งสวิง ในระหว่างขึ้นเพลง นักรำจะทำการร่ายรำไปตามเพลงแต่ละชนิดเวลาจบหัวหน้าที่อยู่ในหมู่กลองเร่งเตือนว่าจะลงกลองเพื่อจบหรือหยุดเล่น
วงกลองยาว
ที่อยู่ 23/1 ม.1 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เบอร์โทรศัพท์ 035-728041 , 085-8108482
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นายโหย เมฆพันธ์
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
จากถนนสายเอเชีย (ทางหมายเลข 32) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบางปะอินตรงไป ถึงสี่แยกไฟแดง แล้วเลี้ยวขวา (บางปะอินสายใน) ผ่านสถานีรถไฟบางปะอินตรงไป ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงวัดทำเลไทยเลยไปประมาณ 500 เมตร เข้าซอยร้าน ลุงโหย๋ วัสดุก่อสร้าง