อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
  • ปรับขนาด
    ตัวอักษร
สินค้า OTOP
กลุ่มขนมไทยชุมชนนิยมบ้านวัดยม
ยังไม่มีผู้ให้คะแนน

กลุ่มขนมไทยชุมชนนิยมบ้านวัดยม

หมวด : อาหาร

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ จนทำให้คนรุ่นหลังๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองและเม็ดขนุนมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์ ขนมเม็ดขนุนถือเป็นขนมที่มีมาแต่โบราณในหมู่บ้านของเราเพราะคนโบราณถือว่าขนมเม็ดขนุนมีชื่อที่เป็นมงคล(คือการหนุนส่งหนุนขึ้นให้ดีขึ้น)และมีสีเหลืองเป็นมันวาวจากน้ำตาล ทำให้รู้สึกเหมือนสีของทองคนสมัยก่อนจึงนำมาใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ เพื่อเป็นศิริมงคล จึงได้สืบสานฝึกสอนสืบทอดรุ่นต่อรุ่นถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานกันมาแต่โบราณ ดังนั้นทางกรรมการกลุ่ม กลัวว่าภูมิปัญญาในการทำขนมเม็ดขนุนจะสูญหายไปจึงได้รวมกลุ่มกันเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๐ และขึ้นทะเบียน OTOP เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๓ เพื่อที่จะถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อกันไปและเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและจะได้อนุรักษ์ไว้เพื่อใช้ในพิธีการต่างๆได้ตลอดไป

 

ความสัมพันธ์กับชุมชน

คนในชุมชนยอมรับและให้ความร่วมมือ ในกิจกรรมของกลุ่ม ช่วยกันคิดรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ให้ทันสมัยที่สำคัญสามารถถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังรู้จักขนมไทยที่ใช้ในพิธีต่างๆให้คนรุ่นหลังสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป

 

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

 

-  ไข่ไก่

-  มะพร้าว กระทิ

-  แป้ง

-  น้ำตาลทราย

-  กระทะทองเหลือง

-  พาย กรวยโรยฝอย ทัพพี กระบวย 

-  ซึ้ง หม้อ เตา 

-  ถั่วเหลือง

 

ขั้นตอนการผลิต

 

 

ข้อน่ารู้เกี่ยวกับการทำขนมไทย ไข่ ก่อนใช้ไข่ควรล้างเปลือกให้สะอาดก่อนแช่น้ำไว้สักครู่จึงใช้แปรงหรือผ้าถูแล้วเช็ดหรือผึ่งให้แห้ง สิ่งสกปรกจะได้ไม่ติดลงไปในอาหารด้วยเมื่อต่อยไข่แต่ถ้าจะเก็บไข่ไว้ใช้นานๆไม่ควรล้างจะทำให้ไข่เสียเร็วเพราะน้ำจะซึมเข้าไปทางช่องเล็ก ๆ ของเปลือกไข่ไข่ตีขึ้น หมายความว่าไข่ต้องข้นและเนื้อละเอียดเมื่อยกเครื่องตีไข่ขึ้น ไข่จะไม่หยด การเลือกไข่ ไข่ที่มีอายุเพียง 2 หรือ 3 วันจะตีขึ้นดีกว่าไข่ใหม่ๆ เลยและไข่ที่เก่ามีอายุหลายๆ วันก็จะตีไม่ขึ้น ควรแยกไข่แดงและไข่ขาวแล้วตีทีละอย่างจะทำให้ขนมฟูมากขึ้นวิธีแยกไข่ ต่อยไข่ใส่ชามระวังอย่าให้ไข่แดงแตก เมื่อต่อยไข่ใส่ชามได้ 2-3 ฟองก็ควรแยกไข่เสียทีหนึ่ง โดยใช้ช้อนสองคันตักไข่แดงขึ้นแล้วเปลี่ยนไข่ไปอีกช้อนเปลี่ยนไปมา ตักให้ไข่ขาวออกจากไข่แดงให้หมด ถ้าไม่ใช้ช้อนจะใช้มือทำแทนก็ได้ โดยเปลี่ยนมือไปมาแล้วใช้มือและนิ้วช่วยรีดไข่ขาว ถ้าไข่แดงแตกปนไปกับไข่ขาวให้ตักไข่แดงออกให้หมด การต้มไข่หวาน เติมน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเล็กน้อยลงในน้ำเชื่อมจะช่วยให้ไข่ขาวสะอาด น่ารับประทานและไข่ขาวจะไม่กระจายด้วย แกงบวดและขนมบัวลอยการทำขนมพวกแกงบวดหรือบัวลอยนั้น ถ้าจะให้ขนมมันขึ้นและดูน่ารับประทานให้แบ่งหัวกะทิข้นๆไว้ เมื่อขนมจวนได้ที่แล้วจึงใส่หัวกะทิแล้วยกลง การปอกผลไม้ ให้ใช้มีดทำด้วยทองเหลือง หรือมีดสแตนเลสจึงจะไม่ดำไม่ควรใช้มีดเหล็กจะทำให้ผลไม้ดำไม่น่ารับประทาน ผลไม้แห้ง ก่อนคว้านเมล็ดให้แช่น้ำทิ้งไว้สักครู่จึงสงขึ้นแล้วจึงคว้าน จะทำให้คว้านได้ง่าย เมื่อคว้านเสร็จแล้วจึงผึ่งให้แห้ง การตวง ใช้ช้อนตวงตักพอเต็มถ้วยหรือเต็มช้อน อย่าให้ล้นพูนหรือเว้าแหว่งอย่าเขย่าหรือกด จะทำให้แน่นเกินไป ทำให้ปริมาณที่ได้เกินอัตราส่วนเมื่อตักแล้วใช้สันมีดตรง ๆ ปาดส่วนที่เกินขอบปากออกด้วย ผ้ากรอง * ใช้ผ้าขาวบางซึ่งจะหนากว่าผ้าพันแผลเล็กน้อย * การกรองเยลลี่หรือกรองวุ้นต้องชุบผ้าให้เปียกแล้วปิดให้แห้ง * การกรองไข่เพื่อทำฝอยทองเป็นการกรองเอาเยื่ยหุ้มไข่แดงออกแทนการรีดทีละฟองต้องใช้ผ้าแห้งกรอง

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

การทำขนมหวานไทยให้ดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง คือ ต้องมีใจรัก ชอบทำมีความอดทนตั้งใจมีความพิถีพิถันในการประดิษฐ์ให้ขนมมีรูปร่างที่น่ารับประทาน ขนมหวานไทยบางชนิดต้องฝึกทำหลาย ๆ ครั้งจึงจะได้ลักษณะที่ดีประสบการณ์ และความชำนาญในการทำบ่อย ๆ ผู้ประกอบขนมหวานไทย จะประสบความสำเร็จในการทำ การทำขนมหวานไทยของคนรุ่นก่อนๆ จะใช้การกะส่วนผสมจากความเคยชินที่ทำบ่อย ๆสัดส่วนของขนมจะไม่แน่นอน และยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กันเฉพาะภายในครอบครัวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันขนมหวานไทยได้วิวัฒนาการให้ทัดเทียมกับขนมนานาชาติ มีสูตรที่แน่นอน มีสัดส่วนของส่วนผสม และวิธีทำที่บอกไว้อย่างชัดเจน ผู้ประกอบขนมหวานไทยเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานในการชั่ง ตวง มีถ้วยตวงช้อนตวง ใช้ภาชนะให้ถูกต้องกับชนิดของอาหาร เช่น การกวนจะใช้กระทะทองดีกว่าหม้อหรือกระทะเหล็ก การทอดใช้กระทะเหล็กดีกว่ากระทะทอง ทำตามตำรับวิธีทำขั้นตอน อุณหภูมิที่ใช้ในการทำ ตลอดจนเลือกเครื่องปรุงที่ใหม่

 

กลุ่มขนมไทยชุมชนนิยมบ้านวัดยม

ที่อยู่ 19 ม.1  ตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13160

เบอร์โทรศัพท์  035-261732

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ   นางเจนจิรา ภาคอินทรีย์

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

1. กลุ่มขนมไทยชุมชนนิยมบ้านวัดยม บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 1 ตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13160 หมายเลขโทรศัพท์ : 035-261732 

2. ลูกค้าสั่ง

3. ตลาดนัดงานแสดงสินค้า ฯลฯ

แสดงความคิดเห็น